พี่-น้อง ทะเลาะกัน สาเหตุที่ พี่-น้อง ทะเลาะกัน และแนวทางการแก้ไข

คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่มีลูกวัยไล่เลี่ยกัน หรือคุณเองที่อาศัยอยู่กับครอบครัวใหญ่และมีหลานที่เป็นพี่น้องกันอาศัยรวมอยู่ด้วย คงจะพบเจอกับปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน แย่งของกัน แอบตีกัน แม้ในบางคราวจะดูรักกัน เล่นด้วยกันก็ตามจนทำให้วางใจปล่อยให้เล่นกันตามลำพัง แต่แล้วก็กลับมาทะเลาะกัน แล้วต้องมีอีกฝ่ายร้องไห้และผิดใจกันในที่สุด

เพราะวัยเด็กยังเป็นวัยที่เรียนรู้และช่างเลียนแบบ สาเหตุจากการทะเลาะกันอาจจะเพราะทั้งน้อยใจพ่อแม่ น้อยใจที่พี่ได้ของเยอะกว่า หรืออาจจะเคยเห็นผู้ใหญ่ทะเลาะกัน เถียงกันต่อหน้า รวมไปถึงพฤติกรรมเลียนแบบจากในละครโทรทัศน์ และอีกสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนทำให้เด็กเกิดอาการก้าวร้าว ชวนให้พี่น้องทะเลาะกันมากขึ้นโดยไม่รู้ตัวคือ การที่พ่อแม่ลงโทษเด็กทั้งคู่ด้วยวิธีการที่ทำให้เด็กโกรธ ร้องไห้ อย่างการเฆี่ยนตี เป็นต้น

การแก้ปัญหาและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวระหว่างพี่น้อง

กินไข่ ดื่มนม ช่วยส่วนสูง-ลดเสี่ยงกระดูกพรุน
  1.  ให้ความสำคัญกับลูก ๆ อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการให้เวลาด้วย เพื่อไม่ทำให้เด็กคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่าโดดเดี่ยวหรือถูกลืม อย่างเช่น การไม่เปรียบเทียบลูก การให้ของขวัญ การมีเวลาพูดคุยกับทั้งคู่ เมื่อหาเวลาคุยกับคนโตแล้ว อย่าลืมมีเวลาให้กับคนน้องด้วย
  2. การตั้งกฎเกณฑ์ภายในบ้านก็ถือว่ามีส่วนช่วยมากเลยทีเดียว เพราะการสร้างกฎจะทำให้เด็กไม่ละเมิดสิทธิ์กันและกัน อาจจะเป็นกฎง่าย ๆ อย่างการงดใช้ความรุนแรง ไม่ตี ไม่ผลัก ไม่ตะโกน ไม่พูดหยาบคายต่อกัน เป็นต้น
  3. ชื่นชมและยินดีกับลูกทุกคน เพราะเด็กยังเป็นช่วงวัยที่ติดพ่อแม่ และต้องการพึ่งพาอยากได้กำลังใจจากพ่อแม่ ดังนั้น เมื่อลูกทำดี หรือลูกต้องอยู่ในช่วงสอบ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรให้กำลังใจและชื่นชมทุกคน แม้ว่าลูกแต่ละคนจะมีนิสัยและข้อดีข้อด้อยต่างกันก็ตาม
  4. พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกด้วยการ ไม่แสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมไม่ให้เกียรติต่อหน้าลูก เพราะลูกอาจจะซึมซับพฤติกรรมและจดจำเรียนรู้ด้วย 
กินไข่ ดื่มนม ช่วยส่วนสูง-ลดเสี่ยงกระดูกพรุน

จะเห็นได้ว่าปัญหาพี่น้องทะเลาะกันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็สามารถปรับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น แก้ไขได้ง่ายด้วยเช่นกัน เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกเท่านั้นเอง

smartteen
Logo